หมู่บ้านและไม่มีคนพักอาศัยอยู่เลย ถ้ำนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทางเดินขึ้นถ้ำมี
ลักษณะเป็นทางเดินของชาวสวนชาวไร่ เดินไปทำไร่ทำสวน บริเวณหน้าถ้ำจะเป็นป่ารกชัฏ
มาก มีต้นไทร ต้นแฟบ ต้นสลัดไดขึ้นรกเต็มรอบๆ ถ้ำ ด้านหลังถ้ำจะเป็น ต้นสลัดได ต้นแฟบ ต้นไทร ต้นจันทน์แดง (จันทน์ผา) เถาวัลย์ เถาบันไดลิง (เถาแสลง-พันธุ์) หน้าถ้ำมีทางเล็ก
พอเดินเข้าออกได้ กว้าง ๑ เมตร ภายในถ้ำมีตุ่มน้ำสีแดงเก่าๆ ๑ ใบเตียงไม้เก่าๆ ๒ เตียง มีค้างคาวอาศัยอยู่มาก พื้นถ้ำเป็นดิน ถ้ำนี้มี ๓ คูหา แต่ละคูหามีปล่องถ้ำระบายอากาศปัจจุบัน
เป็นห้องศีล ห้องสมาธิ ห้องปัญญา ที่ผนังถ้ำเหนือห้องสมาธิ มีพุทธฉาย หันหน้าไปทางทิศ
ตะวันออก พระที่มาสำรวจด้วยกันมาจากจังหวัดสุรินทร์ ๙ พรรษา ได้ไปดูหลังถ้ำ หลวงพ่อเข้า
ไปดูในถ้ำ ไปจับอารมณ์ดูเห็นว่าเยือกเย็นดี สงบสงัด อากาศถ่ายเทดี เหมาะสำหรับบำเพ็ญ
สมณธรรม ถ้ำนี้ไม่มีผู้ครอบ-ครอง เป็นที่สุขาภิบาลเกาะสีชังดูแล
อาณาเขตถ้ำ บริเวณหน้าถ้ำลงมา ทิศเหนือเป็นที่ดินทำสวนปลูกทับทิม น้อยหน่าฯลฯ เดิมเจ้าของที่ดินคือนายเฮง-นางอรุณ ปิ่นอนงค์ทิศใต้เป็นที่ดินทำสวนของนายสกล
ทิมกระจ่าง ส่วนบริเวณหลังถ้ำขึ้นไปเป็นป่าแสลงพันธุ์ตลอดแนวถึงชายทะเล
เมื่อสำรวจแล้วได้กลับไปที่วัดร้างบางละมุงเพื่อรับกฐิน เมื่อรับกฐินเรียบร้อยแล้ว
( ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ) พระอาจารย์ที่วัดร้างบางละมุง ได้ถวายบริขารแด่หลวงพ่อมีพระแก้ว
มรกต น้ำมันก๊าด เสื่อ หมอน
รุ่งวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ( ๑๔ พ.ย. ๒๕๑๓ ) จึงได้นำบริขารมาที่เกาะสีชังด้วยก่อน
จะเข้าถ้ำ หลวงพ่อกราบ ๓ ครั้ง แผ่เมตตาและบอกว่า หลวงพ่อมาเพื่อบำเพ็ญสมณธรรมไม่ได้
มาข่มเหงคะเนงร้ายอะไร ให้ทราบไว้เถอะ แล้วก็ขนของเข้าถ้ำหลวงพ่อจึงได้พักบำเพ็ญ
สมณธรรมที่นี่ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา หลวงพ่อเปลี่ยนชื่อ “ ถ้ำยายปิกคูหา ” เป็น“ ถ้ำยายปริก ” เพราะเทพในถ้ำบอกว่า ถ้ำยายปริกนี้มี ร – เรือ ควบกล้ำ
พ.ศ. ๒๕๑๔ ทำแท่นพระและเทพื้นคอนกรีตภายในถ้ำ โดยโยมสมจิตต์และโยมสุภรเป็นเจ้าภาพ ฝนตกมาน้ำไหลไปไม่แฉะ
พ.ศ. ๒๕๑๕ สร้างกุฏิสันติธรรม ( ทรงไทย ยอดเขา ) โดยนายช่วง – นางวิจิตรทองจันทร์ ทำแท็งก์กลมที่ใกล้กุฏิสันติธรรม โดยพระอาจารย์วิเชียร วัดเขาพุทธโคดมสร้างศาลาหน้าถ้ำ โดยร้านกันยามีโยมสมจิตต์ วรณาภรณ์ โยมแจ่ม- โยมสุภร อยู่แสนสุขสร้างบ่อน้ำหน้าถ้ำ ๑ บ่อ , ห้องน้ำ – ห้องส้วม ๑ ห้อง และศาลาบนบ่อหน้าถ้ำ โดยคณะผ้าป่าวัดเนินสุทธาวาส ชลบุรี สร้างบันไดขึ้นไปถึงปากถ้ำ โดยเงินผ้าป่าทั่วไปพ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๑๙ หลวงพ่อได้ไป
จำพรรษาที่อื่น
พ.ศ. ๒๕๑๙ กลับมาจำพรรษาที่ถ้ำยายปริก จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๑๙–๒๕๒๘ หลวงพ่อได้เผยแผ่ธรรมะ การปฏิบัติธรรมด้านสมถวิปัสสนา-กรรมฐาน
ทั้งที่ถ้ำยายปริกและที่อื่นๆ กระทั่งมีพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกาสานุศิษย์ ศรัทธาเลื่อมใสมาร่วมสร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุขึ้น มีการสร้างถนนแยกจากถนนอัษฎางค์
มาถึงทางขึ้นถ้ำยายปริก ขอขยายเขตไฟฟ้าเข้ามา สร้างถนนหน้าสำนักฯ ได้มอบถนนให้เป็น
ของสุขาภิบาลเกาะสีชัง และ พ.ศ. ๒๕๒๔, พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้มีสานุศิษย์ คือ ๑. คุณบัวผัน เรืองศิริและคุณบุษบง พงษ์กล่ำ ๒. คุณเผชิญ และคุณสมาร์ท พงษ์กล่ำ ๓. คุณชลลัดดา
ชุติมามาศ และคุณสันติ ชัยบุหงา ได้ช่วยกันซื้อที่ดินถวาย ให้เป็นที่ดินสำนักฯ จำนวน ๒ ไร่ ๓ งาน ได้มีการสร้างเสนาสนะ กุฏิ ๙ หลัง แท็งก์น้ำ ๕ แห่งโรงครัว ๑ หลัง หลวงพ่อจึงพัฒนา
ถ้ำยายปริกเป็นสำนักวิปัสสนา-พัฒนาการทางจิตร เมื่อมีถนนและไฟฟ้าเข้ามาความเจริญ
เกิดขึ้นหมู่บ้านจึงตามมา
พ.ศ. ๒๕๒๙–๒๕๔๕ หลวงพ่อได้ก่อตั้งมูลนิธิ “หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร ”เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ต่อมาที่ดินอีก ๙ ไร่สุขาภิบาลเกาะสีชังยกให้รวมที่ดินทั้งหมด ๑๑ ไร่ ๓ งาน ๖ ตารางวา เป็นที่ดินของมูลนิธิฯ หลวงพ่อได้พัฒนาสถานที่เสนาสนะต่างๆ ดังนี้
๑. ถ้ำยายปริก มีห้องกรรมฐาน ๓ ห้อง(ห้องศีล , ห้องสมาธิ ,ห้องปัญญา)
๒. กุฏิพระภิกษุ ๒๔ ห้อง
๓. กุฏิชี ๒๑ ห้อง
๔. ซุ้มประตูวัด
๕. โบสถ์ ๑ หลัง
๖. สถูปพระเจดีย์สังเวชนียสถาน ๔ ตำบลอินเดีย–เนปาล บรรจุพระบรม
สารีริกธาตุ และ ลูกนิมิต(ดินน้ำจากสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล)
๗. พระสถูปเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อ
๘. หอระฆังหอกลอง ๑ หลัง
๙. ศาลาหน้าถ้ำยายปริก ศาลาร่มเย็น ศาลาเอนกประสงค์ ศาลาธรรมสภา
ศาลาธรรมสันติ ศาลาพญานาค ศาลาสัจจธรรม ศาลาเจริญวิปัสสนา
ศาลาตะวันตก ศาลาเพ่งความว่าง ศาลาโลงทอง ศาลาพักศพ
๑๐. สำนักงานมูลนิธิ “ หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร ”
๑๑. สร้างบ่อเก็บน้ำฝน ๓๗ บ่อ
๑๒. อุโบสถ ๑ หลัง
พ.ศ.๒๕๔๓ได้ทำเรื่องขออนุญาตสร้างวัดโดยประธานมูลนิธิ “หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร”และ
คณะกรรมการมูลนิธิฯทั้งหมดซึ่งเป็นนิติบุคคล เห็นชอบให้ยกที่ดินของมูลนิธิฯให้สร้างวัดและ
ได้รับอนุญาตให้นางวิลัย เชียงนางามสร้างวัดเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๓ ต่อมาได้ทำเรื่อง
ขออนุญาตตั้งชื่อวัดและได้รับอนุญาตตั้งชื่อ“วัดถ้ำยายปริก”เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๓
พ.ศ.๒๕๔๔ ได้ขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งลงประกาศบัญชีรายชื่อ
วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไปเล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๗๖ ง. วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๔ หลวงพ่อได้ต่อสู้อุปสรรคนานาประการ ๓๑ พรรษา จนกระทั่งได้เป็นวัดสมบูรณ์ การติดต่อดำเนินการขอสร้างวัด ขอตั้งวัด และขอรับพระราชทาน
วิสุงคามสีมานั้น อ.ทิพยา พันธุมกาญจน์ อ.นันทวัน อร่ามวารีกุล และ อ.สุดประนอม สมันตเวคิน ได้เป็นธุระช่วยเหลือจนกระทั่งสำเร็จ และต่อมานายอำเภอเกาะสีชัง นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ได้มาปักหมายเขต-วิสุงคามสีมา เมื่อวันพระขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ อุโบสถนี้จึงพร้อมจะอุปสมบทพระภิกษุได้และได้อุปสมบทพระภิกษุ
ครั้งแรก ๘ รูป ในวันวิสาขบูชาขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ (ปีนี้ ๘ สองหน) ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕ เวลารุ่งอรุณ เป็นปฐมฤกษ์ มีพระครูโสรัจธรรมคุณ เจ้าคณะ-ตำบลคลองกิ่ว เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม (บึงบน) ต. บ้านบึง อ. บ้านบึง จ. ชลบุรี ีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์สาธิต ฐิตญาโณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระฉลอง เขมวโร
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ .
พ.ศ.๒๕๔๖ จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตผูกสีมา วันที่ ๑-๖ กุมภาพันธ์
*******************
|